เตรียมเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
เต้านมอวัยวะมหัศจรรย์ของคุณแม่ ที่คอยผลิตน้ำนมให้ได้เลี้ยงลูกอย่างเพียงพอ
จนทารกถึงวัย 6 เดือน เป็นอย่างน้อย และผลิตได้นาน 2 ปี ตราบเท่าที่มีการดูแล
กระตุ้นเต้านมอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอ
คุณค่าน้ำนมแม่ต่อลูก
1. น้ำนมเหลือง (Colostrums) มีภูมิคุ้มกันโรคที่นมผสมไม่มี
2. ต้านทานโรคผิวหนังและโรคทางเดินหายใจ
3. เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยระบายขี้เทาลูก
4. ป้องกันไม่ให้ลูกเป็นภูมิแพ้ และป้องกันโรคลำไส้อักเสบ
5. มีสารอาหารครบถ้วนในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ร่างกาย
ประโยชน์ต่อสุขภาพมารดา
1. มดลูกหดรัดตัวกลับสู่ภาวะปกติได้เร็ว
2. เกิดความรัก ความผูกพัน ระหว่างแม่และลูก
3. สะดวกเพราะสามารถให้ลูกกินที่ไหนและเมื่อไรก็ได้
4. ลดความเสี่ยงต่อภาวะโลหิตจาง อันเนื่องจากการไม่มีประจำเดือนระหว่างให้นมลูก
หลังคลอดกลไกฮอร์โมนจะกระตุ้นให้มีการผลิตและหลั่งน้ำนม ขนาดเต้านมไม่มีส่วน
เกี่ยวข้องกับปริมาณน้ำนม การรับประทานอาหารที่เชื่อว่าทำให้น้ำนมมีปริมาณมาก
แต่ถ้าไม่ให้ลูกดูดกระตุ้น ก็ไม่ทำให้น้ำนมมีมากขึ้น ซึ่งปัญหาและอุปสรรคส่วนใหญ่
คือ ปัญหาหัวนมและลานหัวนมที่ตึง
วิธีการตรวจสอบหัวนม
1. ใช้นิ้วชี้และนิ้วโป้งวางที่ฐานหัวนมและกดเข้าหาตัวคุณแม่ หัวนมที่ปกติลูกดูดได้
คือประมาณ 0.7 -1 ซ.ม
2. หัวนมสั้น เมื่อใช้นิ้วทดสอบหัวนมยื่นน้อยกว่า 0.5 ซ.ม
3. หัวนมแบน เมื่อใช้นิ้วทดสอบหัวนมจะพบว่าหัวนมไม่ยื่นแต่แบบราบไปกับลานนม
และเต้านม
4. หัวนมบุ๋ม เมื่อใช้นิ้วทดสอบหัวนมจะผลุบเข้าไปข้างใน
การแก้ไข
อุปกรณ์ในการแก้ไขหัวนมที่สั้นหรือบุ๋ม คือ Nipple Puller
การแก้ไขลานหัวนมที่ตึง
ควรเริ่มใส่ปทุมแก้วเมื่อตั้งครรภ์ในไตรมาสสุดท้าย ใส่วันละ 2-3 ชั่วโมง และเมื่อเริ่มชิน
ก็ใส่ไว้ตอนกลางวัน เมื่อคลอดแล้วก็ใส่ไว้ 30 นาทีก่อนให้ลูกดูดนม เพื่อช่วยให้หัวนม
ยื่นออกมา ไม่ควรใส่นอนตอนกลางคืน และน้ำนมที่ขังอยู่ในปทุมแก้วก็ควรทิ้งไป
ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มี 3 วิธี
1. ดูดเร็ว (Bonding & Early breast feeding) แม่จะได้ลูกมาโอบกอดและให้
ลูกดูดนมแม่ทันที หรืออย่างช้าภายในครึ่งชั่วโมงหลังคลอด เพื่อให้มีการเริ่มสร้าง
สายสัมพันธ์แม่ – ลูก และกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำนมเร็วขึ้น ลูกต้องไม่มีภาวะแทรกซ้อน
หลังคลอดควรให้ลูกดูดนมทั้งสองข้าง ข้างละ10-15 นาที
2. ดูดบ่อย เพื่อให้ลูกได้ดูดนมแม่บ่อย และได้ดูดทุกครั้งที่ลูกต้องการ ซึ่งจะช่วยกระตุ้น
การสร้างและหลั่งน้ำนมให้เพียงพอ ทั้งเป็นการเสริมสายสัมพันธ์แม่ลูก
3. ดูดถูกวิธี ขณะให้นมลูกแม่จะนั่งหรือนอนก็ได้ ตะแคงตัวลูกเข้าหาแม่ ศีรษะและลำตัว
ลูกอยู่ในแนวเดียวกันหรือก้มเล็กน้อย ให้ลูกอมหัวนม และลานหัวนมให้กระชับและลึก
จนเหงือกกดบนลานนม ลิ้นอยู่ใต้ลานหัวนม ถ้าลูกดูดได้น้ำนมมากอาจได้ยินเสียงกลืนนม
การดูแลเต้านม
หลังคลอดเต้านมจะขยายใหญ่ขึ้น เพื่อเตรียมสร้างน้ำนม เมื่อดูดนมแม่ปลายประสาท
จะถูกกระตุ้นให้ส่งสัญญาณไปที่สมองให้หลั่งฮอร์โมนโปรแลคติน ทำให้ต่อมน้ำนม
สร้างน้ำนม หากให้ลูกดูดกระตุ้นบ่อยๆ เต้านมจะผลิตน้ำนมตามความต้องการของทารก
จะทำให้น้ำนมมาเร็วในระยะ 2-3 วันแรกเต้านมจะมีน้ำนมเหลือง ต่อไปจะเปลี่ยนเป็นน้ำนม